การทุจริตในการสอบ


  ตกเป็นประเด็นทอล์คออฟเดอะทาวน์อย่างต่อเนื่อง หลังเกิดการทุจริตในการรับบุคคลภายนอกเข้าสอบเพื่อรับราชการตำรวจชั้นประทวน พ.ศ. 2555 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ต้องมีการประกาศยกเลิกให้การสอบตำรวจในครั้งนี้เป็นโมฆะ รายการเจาะข่าวเด่น (13 มิถุนายน) จึงเชิญ พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาเปิดเผยกลโกงของกระบวนการทุจริตสอบตำรวจในครั้งนี้
           1. กลุ่มที่ปลอมบัตรประชาชนและใบสมัครสอบเพื่อเข้าสอบแทนผู้สมัครสอบตัวจริง 

           2. กลุ่มที่ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ 

           3. กลุ่มที่ใช้รูปแบบอื่น ๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังหาเบาะแสอยู่

          สำหรับการเปิดเผยกลโกงในครั้งนี้ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเจาะจงไปที่ กลุ่มที่ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลัก เนื่องจากเป็นกระบวนการใหญ่ โดยกลุ่มโกงเหล่านี้ไม่ได้เพียงแค่รับจ้างทุจริตสอบตำรวจเท่านั้น แต่รับจ้างโกงการสอบทุกรูปแบบในประเทศไทย ผ่านการโฆษณาอย่างเอิกเกริกในสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก อีกทั้งยังมีการเปิดรับสมัครคนเรียนเก่งเพื่อร่วมกระทำความผิดในการเข้าสอบแทนอีกด้วย
 ซึ่งในการหาลูกค้านั้นจะมีการทำกันเป็นเครือข่ายเหมือนแชร์ลูกโซ่ มีการหาลูกค้ากันเป็นทอด ๆ บอกต่อกันไป หากลูกค้าสนใจก็จะเก็บเงินมัดจำ 3,000- 5,000 บาท จากนั้นจะมีการนัดหมายเพื่อไปซักซ้อมกระบวนการและสาธิตการใช้เครื่องมือ โดยยกตัวอย่างจากกลุ่มที่ถูกจับกุมตัวได้ในจังหวัดนครราชสีมา จะมีการแจกจ่ายเครื่องมือกันตอนเช้าของวันสอบ ซึ่งเครื่องมือที่ผู้เข้าสอบจะได้รับคือตัวรับสัญญาณ ขณะที่จะมีผู้ส่งสัญญาณอยู่ด้านนอกรัศมีสัญญาณ 300 เมตร และจะมีการเรียกเก็บเงินจำนวน 100,000 – 400,000 บาท หากมีการสอบติด

          แม้ว่าจะมีการสลับชุดข้อสอบ รวมถึงสลับข้อสอบในแต่ละชุดไม่ให้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน แต่กระบวนการทุจริตจะแก้ไขด้วยการนัดแนะกับผู้เข้าสอบโดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้

          1. การสลับชุดข้อสอบ สำหรับการสอบตำรวจนั้นจะมีข้อสอบอยู่ 8 ชุด แบ่งออกเป็น 5 หมวด กระบวนการทุจริตจะมีการนัดแนะกับผู้เข้าสอบว่าให้เรียงหมวดหมู่ใหม่ เช่น หมวดที่ 1 คือภาควิชาทั่วไป หมวดที่ 2 คือภาษาไทย หมวดที่ 3 คือคณิตศาสตร์ หมวดที่ 4 คือภาษาอังกฤษ เป็นต้น แม้ว่าในข้อสอบของผู้เข้าสอบจะถูกเรียงหมวดหมู่มาไม่เหมือนกัน แต่ให้ยึดเอาตามที่กำหนดไว้เป็นหลัก ก็จะทำให้เข้าใจตรงกันได้

          2. การสลับข้อในแต่ละชุดข้อสอบ ผู้เข้าสอบจะต้องนับสระในคำถามแต่ละข้อเป็นหลัก โดยไม่ต้องนับพยัญชนะ หากนับออกมาแล้วมีข้อใดได้ผลซ้ำกัน ให้นับสระจากคำตอบร่วมด้วย โดยไม่ต้องเอามาบวกกัน เช่นนับคำถามได้ 3 สระ หากต้องนับคำตอบด้วยได้ 4 สระ ก็นับเป็น 34 เป็นต้น จากนั้นให้นำทุกข้อมาเรียงใหม่ตามจำนวนสระที่นับได้ ผู้ทุจริตทุกคนจึงจะมีโจทย์ในแต่ละข้อเรียงเท่ากัน หลังจากผ่านไป 1.30 ชั่วโมง จะมีสัญญาณเตือนความพร้อม ก่อนที่จะส่งสัญญาณคำตอบมาให้เครื่องสั่น โดยแต่ละข้อจะปล่อยสัญญาณห่างกันประมาณ 2-3 วินาที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น